top of page
ค้นหา

สำรวจผลประกอบการ ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังของ 3 ยักษ์ใหญ่ในไทย


สำรวจบริษัทตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง energy drink ในไทย

ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) ถือเป็นสนามรบในการทำธุรกิจที่ดุเดือด เพราะมียักษ์ใหญ่ครองตลาดมาเป็นเวลานานด้วยกันถึง 3 เจ้า ได้แก่

  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)

  • บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด

  • บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

แต่ละแบรนด์ต้องวางแผนกลยุทธ์เพื่อครองตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้เน้นไปที่คนอายุระหว่าง 20-34 ปี กลุ่มแรงงาน และกลุ่มที่เดินทางเป็นประจำ เนื่องจากมีสถิติว่ากลุ่มนี้บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง รองจากเครื่องดื่มเกลือแร่ที่กลุ่มนี้เลือกบริโภคมากที่สุด

ภาพรวมตลาดโลกเครื่องดื่มชูกำลัง energy drink

ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังของประเทศไทยถือเป็นอันดับ 1 ของในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ, จีน และอังกฤษ โดยภาพรวมในตลาดโลกมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นราว 3-4% และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2022-2032 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังจะเติบโตมากถึง 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


แต่ด้วยวิกฤติต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมาทำให้ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยไม่เติบโตอย่างที่ควรจากเดิมที่เคยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 36,000 ล้านบาท ก็หดตัวอยู่ที่ราว ๆ 20,000 ล้านบาท และในปี 2565 มูลค่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังกลับมาเติบโตขึ้นเล็กน้อยโดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 20,500 ล้านบาท คิดเป็น 9.1%


ปี 2566 ตลาดเครื่องดื่มชูเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยการปรับราคาขายเป็น 12 บาท หลังจากที่ตรึงราคาอยู่ที่ 10 บาทมาเป็นเวลานาน โดยเริ่มจากโอสถสภา M-150, กระทิงแดง ซึ่งในตอนนี้มีเพียงคาราบาวแดงที่ยังคงขายปลีกในราคา 10 บาท


Market Share ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) ในไทย

Market Share ส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง energy drink ในไทย
  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ถือครองตลาดอยู่ที่ 47.3% ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง M-150, ลิโพวิตัน-ดี, Shark, โสมอิน-ซัม, M-Storm, Cool Bite

  • บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ถือครองตลาดอยู่ที่ 22.7% ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง กระทิงแดง, เรดดี้, โสมพลัส, วอริเออร์

  • บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือครองตลาดอยู่ที่ 20.7% ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง คาราบาวแดง

  • อื่น ๆ ถือครองตลาดอยู่ที่รวมแล้ว 9.3%

ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง energy drink ไทย ปรับราคา Magic Price Point

การแข่งขันของตลาดเครื่องดื่มชูกำลังเป็นไปอย่างดุเดือดจากเดิมที่บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) เคยเป็นผู้ครองตลาดนี้มากกว่า 50% เมื่อมีแบรนด์อื่นทยอยเข้าร่วมตลาดจึงมีการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างการปรับราคาขายเครื่องดื่มชูกำลัง ที่เดิมเคยเป็น Magic Price Point (การตั้งราคาสินค้าที่สามารถซื้อได้ง่าย มีความคุ้มค่า คุ้มราคา) ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญของแต่ละเจ้า อาจทำให้ปริมาณการขายหดตัวลงไปอีกได้ แต่ละแบรนด์จึงมองหากลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ เพื่อดึงความสนใจให้มากที่สุด


ศึกชิงการตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) กับกลยุทธ์จากแต่ละแบรนด์

marketing strategy กลยุทธ์การตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง energy drink ในไทย
  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กลยุทธ์การตลาด : เจาะสินค้าที่มีความเป็น Multi-Brand มีสินค้าที่หลากหลาย, Music Marketing เน้นการสร้างภาพจำผ่านเพลง, Idol Marketing สร้างคาแรคเตอร์ให้แก่แบรนด์, Sport Marketing ทำการตลาดกับกีฬาและกลุ่มคนกีฬาที่ต้องใช้พลังงานเยอะ

  • บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด กลยุทธ์การตลาด : เน้นสินค้า Multi-Brand มีผลิตภัณฑ์หลากหลายในการโปรโมทเรื่องสุขภาพ หันมาทำการตลาดกับ Gen Z มากขึ้น สร้างคาแรคเตอร์กับผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน

  • บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กลยุทธ์การตลาด : เน้นเรื่องการทำ Sport Marketing เป็นสปอนเซอร์สโมสรฟุตบอล และคาราบาวคัพ การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย EFL Cup ของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ และมีการทำการตลาดสาวบาวแดงเพื่อตีตลาดกลุ่มชนชั้นแรงงานเพื่อสร้างภาพจำต่อแบรนด์

สำรวจผลประกอบการรายได้ของ 3 เจ้าตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง

ผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลัง เครื่องดื่มชูกำลัง energy drink

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)

  • รายได้รวม ปี 64 : 22,250,779,320 บาท (22,251 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 64 : 3,281,236,037 บาท (3,281 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 63 : 22,277,123,264 บาท (22,277 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 63 : 3,357,831,963 บาท (3,358 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 62 : 21,888,147,989 บาท (21,888 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 62 : 3,038,599,130 บาท (3,039 ล้านบาท)

บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

  • รายได้รวม ปี 64 : 2,158,773,197 บาท (2,159 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 64 : 1,965,282,240 บาท (1,965 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 63 : 2,253,966,029 บาท (2,254 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 63 : 2,005,370,856 บาท (2,005 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 62 : 3,693,730,128 บาท (3,694 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 62 : 2,184,888,297 บาท (2,185 ล้านบาท)

บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด

  • รายได้รวม ปี 64 : 30,809,985,771 บาท (30,810 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 64 : 6,846,667,562 บาท (6,847 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 63 : 28,259,320,910 บาท (28,259 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 63 : 5,930,366,774 บาท (5,930 ล้านบาท)

  • รายได้รวม ปี 62 : 29,817,859,791 บาท (29,817 ล้านบาท) กำไรสุทธิ ปี 62 : 6,996,462,769 บาท (6,996 ล้านบาท)

ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของตลาดเครื่องดื่มชูกำลังคืออัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ในหลายปีมานี้แบรนด์ไทยรุกตลาดโลก ซึ่งในอนาคตแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังของไทยอาจก้าวสู่ท็อปในไม่ช้านี้


Reference: efinancethai / today.line / prachachat / bangkokbiznews / euromonitor

Comments


bottom of page