
“รำข้าว” ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวกำลังเติบโต พร้อมสู้วิกฤติการค้าข้าวระดับโลก และได้สร้างมูลค่าใน “ธุรกิจน้ำมันรำข้าว” แล้วกว่า 2,000 ล้านบาท
อุตสาหกรรมข้าวไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งการผลิตและการส่งออก แม้ว่าในด้านการแข่งขันจะคงความได้เปรียบเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกราว 121,890 ล้านบาท ทว่าขีดความสามารถกลับลดลง คู่แข่งคนสำคัญอย่างเวียดนามกำลังไล่ตามมาอย่างติด ๆ ซึ่งนั่นก็มีปัจจัยหลักมาจาก
ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้น
นโยบายการเกษตรขยายพื้นที่เพาะปลูกของประเทศคู่ค้าที่มากกว่า
สายพันธุ์ข้าวของประเทศคู่ค้าที่ใช้เพาะปลูกที่เติบโตรวดเร็วกว่า
ปัจจัยหลักเหล่านี้ทำให้คู่ค้าเดิมหันไปนิยมข้าวประเทศอื่นที่มีคุณภาพและราคาถูกมากกว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมข้าวไทยจึงต้องหาทางออก ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องราคา หรือการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว แต่อาจจะต้องยกระดับข้าวไทย ผ่านการแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นการสร้างโอกาสในการส่งออกข้าวไทยมากขึ้นได้อีกหลายเท่าตัว
"น้ำมันรำข้าว" จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ได้รับความนิยมและกระแสตอบรับดีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมความงาม และอุตสาหกรรมสัตว์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจน้ำมันรำข้าวในไทยเป็นไปในทางบวก โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ส่งออกไปยังหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง และเริ่มมีนักลงทุนต่างประเทศได้เข้ามาตีตลาดในไทยกันมากขึ้น รวมไปถึงการส่งออกก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันรำข้าวราว 12,895 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกราว ๆ 2,000 ล้านบาท อยู่อันดับ 2 ของตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่มีมูลค่าการส่งออกของตลาดกว่า 10,000 ล้านบาท
แต่หากมองในมุมของตลาดน้ำมันพืชประกอบอาหาร ธุรกิจน้ำมันรำข้าวถือว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เป็นรองอยู่พอสมควร ซึ่งข้อมูลจากปี 63 มีมูลค่าตลาดรวม 24,584 ล้านบาท สัดส่วนทางการตลาดคิดเป็น น้ำมันปาล์ม 56% น้ำมันถั่วเหลือง 40% น้ำมันรำข้าว 2% และอื่น ๆ 2%
เนื่องจากตลาดน้ำมันพืชผู้บริโภคมักจะสนใจเรื่องของราคาเป็นหลัก เพราะมองว่าแต่ละแบรนด์ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก จึงทำให้คนสามารถเปลี่ยนใจได้เสมอ และน้ำมันรำข้าวมีราคาที่ค่อนข้างสูงอาจจะไม่ตอบโจทย์นัก
การแข่งขันด้านราคาของธุรกิจน้ำมันรำข้าวในตลาดน้ำมันพืชประกอบอาหารจึงเป็นเรื่องที่หลายแบรนด์ในธุรกิจนี้ต้องเผชิญ และวางกลยุทธ์การตลาดให้ผู้บริโภคเปิดใจ กว่าจะเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจโดดเด่นขึ้นมา คือกลุ่มคนรักสุขภาพที่เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจเรื่องคุณค่าในผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น
ตัวอย่างแบรนด์น้ำมันรำข้าวที่เป็นที่รู้จัก อาทิ บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันรำข้าวตราคิง, บริษัท แอลพีพี ไรซ์ บราน ออยล์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทแยกจาก บริษัท ล้อพูนผลไรซ์มิลล์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวสารแบรนด์บัวชมพู
ผลประกอบการกลุ่มบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรำข้าว
Corpus X พาคุณมาดูผลประกอบการบริษัทดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด
ปี 2565 รายได้ 2,995 ล้านบาท กำไร 432 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 2,214 ล้านบาท กำไร 274 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 2,269 ล้านบาท กำไร 176 ล้านบาท
บริษัท แอลพีพี ไรซ์ บราน ออยล์ จำกัด
ปี 2564 รายได้ 22 ล้านบาท กำไร 283,061 บาท

อย่างไรก็ดี ธุรกิจน้ำมันรำข้าวไม่เพียงแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ในการสร้างรายได้แก่เกษตรกรที่กำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมข้าว ช่วยยกระดับการผลิตและกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างยั่งยืน
หากคุณต้องการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคู่ค้า วิเคราะห์การเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือเปรียบเทียบการแข่งขันในตลาด ทดลองใช้งาน Corpus X B2B Data Analytics Platform เครื่องมือที่คุณต้องลอง ด้วยข้อมูลที่ละเอียดและการวิเคราะห์ที่แม่นยำ คุณสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและก้าวนำตลาดไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ! ทดลองใช้งานวันนี้เพื่อค้นพบโอกาสใหม่ ๆ ที่รออยู่
แหล่งข้อมูล :
https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rice/io/io-rice-2022
https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=334
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/564491
https://www.prachachat.net/economy/news-1039908