top of page

สรุป 5 ประเภท “ค่าปรับภาษี” ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้!

  • rattanuta
  • 4 วันที่ผ่านมา
  • ยาว 2 นาที

สำหรับเจ้าของกิจการ หรือผู้ที่ดูแลเรื่องบัญชีและภาษีในบริษัท หนึ่งในเรื่องที่ไม่รู้ไม่ได้ คือ ค่าปรับทางภาษี (tax penalty) เพราะเพียงแค่ยื่นแบบล่าช้า หรือไม่จัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ก็อาจต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มที่สะสมจนเป็นจำนวนมากได้


บทความนี้ Corpus X จะมาสรุป “ค่าปรับทางภาษี 5 ประเภทหลัก” ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจทุกคนควรเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาด และวางแผนจัดการได้ทันเวลา


1.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, 2, 3, 53)

เมื่อบริษัทมีการจ่ายค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า หรือค่าสิทธิ์ต่าง ๆ ให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งให้กรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด

ค่าปรับกรณียื่นล่าช้า:

- ยื่นแบบล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน : ปรับ 100 บาท

- ยื่นแบบล่าช้า เกิน 7 วัน :  ปรับ 200 บาท

เงินเพิ่ม: 

- อัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ 


ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ WHT : (Withholding Tax) เป็นภาษีที่ต้องจัดการเป็นประจำทุกเดือน ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด


2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 / ภ.พ.36)

สำหรับกิจการที่จดทะเบียน VAT แล้ว จะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน แม้ไม่มีรายรับก็ต้องยื่นแบบ “ไม่มีรายการ”

ค่าปรับกรณียื่นล่าช้า:

- ยื่นแบบล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน : ปรับ 300 บาท

- ยื่นแบบล่าช้า เกิน 7 วัน : ปรับ 500 บาท

เงินเพิ่ม: 

- อัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ 

- หากไม่ยื่นแบบเลย อาจโดนเบี้ยปรับสูงสุด 40% ของภาษีที่ต้องจ่าย


ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT: (Value Added Tax) ควรตรวจสอบกำหนดยื่นแบบทุกเดือน และจัดเตรียมเอกสารให้พร้อม


3.ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51)

เป็นการยื่นภาษีระหว่างปี โดยประเมินกำไรสุทธิ (Net Profit) คร่าว ๆ เพื่อชำระภาษีล่วงหน้า (ยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากครึ่งปีของรอบบัญชี)

ค่าปรับกรณียื่นล่าช้า:

- ยื่นล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน : ปรับ 1,000 บาท

- ยื่นล่าช้า เกิน 7 วัน : ปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม: 

- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 2 วัน อัตรา 0.1% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ

- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน อัตรา 0.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ

- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน อัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ


ดังนั้น แม้จะเป็นการประมาณกำไร แต่กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ หากพบว่าต่ำกว่าความจริง อาจต้องชำระเพิ่ม


4.ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)

ภาษีหลักที่ใช้ประเมินผลประกอบการทั้งปี เป็นภาษีที่กรมสรรพากรให้ความสำคัญมากที่สุด

ค่าปรับกรณียื่นล่าช้า:

- ยื่นแบบล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน : ปรับ 1,000 บาท

- ยื่นแบบล่าช้า เกิน 7 วัน : ปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม: 

- อัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ


ดังนั้น หากยื่นไม่ครบถ้วน อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลัง พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้


5. ภาษี Transfer Pricing (TP)

ภาษีนี้ใช้ควบคุมราคาซื้อขายระหว่าง “บริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน” เช่น บริษัทแม่-ลูก หรือในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน เพื่อป้องกันการโยกย้ายกำไรและเลี่ยงภาษี

ค่าปรับและบทลงโทษที่ควรรู้:

- ไม่ยื่นแบบ Disclosure Form : ปรับ ไม่เกิน 200,000 บาท

- ไม่จัดทำเอกสารประกอบราคาซื้อขาย : ปรับ ไม่เกิน 200,000 บาท

- จัดทำเอกสาร ไม่ถูกต้อง หรือบิดเบือนข้อมูล : โดนประเมินภาษีย้อนหลัง พร้อม

เงินเพิ่ม: 

- อัตราสูงสุด 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (นับเศษวันเป็น 1 เดือน) ของภาษีที่ต้องชำระ


ดังนั้น การทำรายงาน Disclosure Form ตาม พ.ร.บ. Transfer Pricing ให้ตรงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรอย่างถูกต้องและโปร่งใส เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมระหว่างกัน


สำหรับ “ค่าปรับภาษี” อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยให้สะสมโดยไม่รู้ตัว อาจกลายเป็นภาระที่หนักได้ในภายหลัง ดังนั้นเจ้าของธุรกิจควรมีระบบติดตามกำหนดเวลาการยื่นภาษี พร้อมจัดทำเอกสารและยื่นแบบให้ครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงทั้งค่าปรับทางภาษี และความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบย้อนหลัง


Corpus X B2B Data Analytics Platform เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเชิงลึก มีฟีเจอร์ TPx ที่ถูกออกแบบมาเพื่อนักบัญชีหรือฝ่ายการเงินโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการทำรายงาน Disclosure Form ตามพ.ร.บ. Transfer Pricing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ทำไมนักบัญชีต้องเลือกใช้ฟีเจอร์ TPx จาก Corpus X 

● ช่วยจัดทำรายงาน Disclosure Form ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

● สร้างเอกสาร Benchmarking ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และครอบคลุม

● คัดเลือกกลุ่มข้อมูลสำหรับทำ Benchmarking ได้หลากหลายเงื่อนไข เช่น ตำแหน่งที่ตั้งของกิจการ ประเภทธุรกิจ ปีงบการเงิน สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ

● ระบบได้ตั้งค่าเงื่อนไขพื้นฐานที่กรมสรรพากรใช้พิจารณาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกำหนดเอง ลดข้อผิดพลาดในการใช้งาน

● ช่วยให้การทำ Transfer Pricing มีความโปร่งใส และมีหลักฐานรองรับที่ตรวจสอบได้


อ้างอิง: 

- กรมสรรพากร  

- สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

- ธรรมนิติ

 
 
bottom of page